ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งครั้ง  เปิดทำการสอนเมื่อวันที่  17  มิถุนายน  2497  ทางราชการซึ่งนำโดยนายเทพ  วุฒิศรี  นายอำเภอสิชล  และนายวิศก์  อรัญเวช ศึกษาธิการอำเภอสิชลขณะนั้น พิจารณาเห็นความลำบากของนักเรียนในหมู่บ้านนี้  ซึ่งต้องไปเรียนที่โรงเรียนอื่นซึ่งห่างไกลเกิน 50 เส้น และเส้นทางสัญจรทุรกันดาร  ในฤดูฝนมีน้ำท่วมขังปีละหลายๆวันจำนวนนักเรียนมีมากพอที่จะจัดตั้งโรงเรียนได้  นายเพชร  ขลิบแย้ม  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  9  ตำบลเสาเภา ขณะนั้น พร้อมด้วยประชาชนได้จัดสร้างอาคารกึ่งถาวรขนาดกว้าง  8  เมตร  ยาว  12  เมตร  ในที่ดินซึ่งนายจัด  ขลิบแย้ม  อุทิศให้  กว้าง  2  เส้น 2 วา  ยาว 2  เส้น  6 วา  คิดเป็นเนื้อที่  4  ไร่เศษ  พร้อมกันนั้น  ทางราชการได้แต่งตั้งนายดวง  พรหมคีรี  เป็นครูใหญ่  มีนักเรียนทั้งสิ้น  32  คน
          ต่อมา  พ.ศ.  2500  ทางราชการได้จัดสรรเงิน  จำนวน  7,000  บาท  เพื่อปรับปรุงต่อเติมอาคารเรียนและต่อเติมอาคารเรียนอีก1 ห้อง กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จนสำเร็จเรียบร้อย ในปีนี้มีนักเรียน 81  คน
          ปี พ.ศ.  2502 – 2507  จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี  คณะครู  ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรเห็นว่าโรงเรียนหลังเดิมไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน  จึงพร้อมใจกันสละเงินและแรงงานสร้างอาคารเรียน          โรงอาหารและส้วม  จนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน  ใช้งบประมาณทั้งสิ้น  24,843  บาท
          ปี พ.ศ.2508 – 2509 คณะครู ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลเสาเภา  คณะกรรมการศึกษาและประชาชน  ได้ร่วมกับบริจาคเงินและแรงงานเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนชนิดถาวร แบบ ป. 1 ก                    ของกระทรวงศึกษาธิการ  ขนาด 8 x 16 เมตร  จำนวน  2  ห้องเรียน  โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น  40,000  บาท
          ปี  พ.ศ. 2510 – 2513  คณะครู   ผู้ใหญ่บ้าน  คณะกรรมการพัฒนาโรงเรียน   ได้ร่วมกันบริจาคเงินและแรงงานต่อเติมอาคารเรียน  ขนาด  8 x 16  เมตร  2  ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น  40,000  บาท         ปี พ.ศ.2512 ได้สร้างรั้วถาวรด้านติดกับถนน โดยประชาชนบริจาคเงินและแรงงานในปีนี้มีนักเรียนทั้งหมด 174  คน
ปี พ.ศ. 2514  นายเพชร  ขลิบแย้ม  พร้อมด้วยลูกหลาน  ได้สร้างบ่อน้ำให้แก่โรงเรียน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 4 เมตร ด้วยอิฐถือปูนลาดพื้นบริเวณปากบ่อคิดเป็นเนื้อที่ 12 ตารางเมตร       คิดเป็นเงิน 2,000 บาทและเมื่อปี พ.ศ. 2548  น้ำในบ่อไม่สามารถใช้ได้ เพราะมีกลิ่นและมีสี  นายปรีชา  เพชรนุ้ยประธานกรรมการสถานศึกได้ขุดเจาะบ่อบาลให้โดยใช้งบประมาณส่วนตัว  15,000  บาท  และใช้มาจนทุกวันนี้
          ปี พ.ศ. 2515  ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้รื้ออาคารเรียนหลังแรก    คณะครู  ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนได้ช่วยกันรื้ออาคารหลังแรกสร้าง นำไปสร้างอาคารเรียนชั่วคราวได้ 2 ห้องเรียน  และในปีนี้ได้รับงบประมาณ  25,000 บาท  เพื่อสร้างห้องพักครู
          ปี  พ.ศ. 2516  นายจิต  ขลิบแย้ม  ได้บริจาคที่ดินให้สร้างบ้านพักครู  กว้าง  9  วา 1 ศอก      ยาว  11 วา  คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ  100  ตารางวา  ราคาประมาณ 2,000 บาท ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโรงเรียนด้านตะวันตก  และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
          ปี  พ.ศ. 2517  ได้รับการแต่งตั้งบรรจุนักการภารโรง  จำนวน  1  อัตรา
          ปี พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณอุทกภัยซ่อมแซมหลังคาอาคารเรียน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 31,700  บาท และต่อเติมอีก  2  ห้องเรียน   เป็นเงิน  21,000  บาท
          ปี  พ.ศ.  2519 – 2521 คณะกรรมการศึกษาและประชาชน ร่วมกันสร้างต่อเติมอาคารเรียนตามแบบ ป.1ก. อีก 2 ห้องเรียน โดยทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดสรรงบประมาณต่อเติมจำนวน 200,000 บาท และได้รับงบประมาณให้สร้างถังเก็บน้ำฝน  แบ ฝ.33  จำนวน  3  ถัง  เป็นเงิน  27,350  บาท คณะครู – ภารโรง  ได้สร้างเสาธงเหล็ก  โต๊ะครู 1 ชุด  เตียงห้องพยาบาล 1 เตียงและตู้อุปกรณ์  1  ตู้คิดเป็นเงินรวม  6,050  บาท
          องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชให้งบประมาณ 12,000 บาท  สร้างส้วมแบบ 401  จำนวน  3  ที่นั่ง   ที่ปัสสาวะ  1  ที่ทางราชการได้ลดจำนวนชั้นเรียนลงเหลือ ป.1 – ป.6  ตามหลักสูตรประถมศึกษา  2521  คณะกรรมการศึกษา  ประชาชน  คณะครู  ร่วมกันสร้างรั้วถาวร  ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก  คิดเป็นเงินประมาณ  20,000  บาท
          ปี  พ.ศ.  2523  องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดสรรงบประมาณ                      จำนวน  100,000  บาท สร้างโรงฝึกงานแบบ  312
          ปี  พ.ศ.  2524  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ให้งบประมาณ  70,000  บาท  ต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป.1ก  ที่สร้างค้างเมื่อ ปี 2520  ( ห้องสุดท้าย ) จนแล้วเสร็จ  และได้รับงบประมาณอีก  90,000  บาท  สร้างส้วมแบบ  401  จำนวน  3  ที่นั่ง
          ปี  พ.ศ. 2525  ได้งบประมาณตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จำนวน  40,000  บาท สร้างสนามบาสเกตบอล  1  สนามในที่ดินซึ่งนายจิต  ขลิบแย้ม  มอบให้โรงเรียนทางทิศเหนือของบ้านพักครู  รวมทั้งที่ดินสร้างบ้านพักครู  คิดเป็นเนื้อที่  1  ไร่  1  งาน
          ปี  พ.ศ.  2528  สร้างเรือนเพาะชำ  เสา  คานคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาด 5 x 8  เมตร  คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ  20,000  บาท
          มีผู้บริจาคโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด เป็นเงิน 2,000  บาท  พระพุทธรูปทองเหลืองปางสมาธิ  ขนาดหน้าตักกว้าง 18 นิ้ว 1 องค์ เป็นเงิน  5,000  บาท โต๊ะครูจำนวน 3 ชุด คิดเป็นเงิน 3,500 บาท ชุดรับแขก 1 ชุดเป็นเงิน  3,000  บาท   สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 ที่  เป็นเงิน  3,000  บาท
          ปี  พ.ศ. 2532  ได้ขอเปิดขยายชั้นเด็กเล็ก  และได้สร้างอาคาร 1 หลัง 1 ห้อง  เป็นเอกเทศเพื่อให้เป็นห้องสมุด  โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะกรรมการศึกษา  ประชาชนและผู้ปกครองนักเรียน  คิดเป็นเงินทั้งสิ้น  40,000  บาท อีกทั้งยังได้สร้างโรงจอดรถ  1  หลังเพื่อให้นักเรียนใช้จอดรถจักรยาน
          ปี  พ.ศ.  2538  สร้างประปาภายในโรงเรียน  ต่อท่อน้ำเข้าห้องเรียนทุกห้อง  ติดตั้งอ่างล้างหน้าในห้องพิเศษต่าง ๆ  เช่นห้องพยาบาล  ห้องพักครู  เป็นต้น
          ทอดผ้าป่าสามัคคีในวันสถาปนาโรงเรียน  วันที่ 17  มิถุนายน  ได้เงิน  140,000  บาท  นำเงินไปจัดซื้อเครื่องเสียงและคอมพิวเตอร์   1  ชุด
          ปี  พ.ศ.  2540  ได้รับงบประมาณสำหรับปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน  33,000  บาท            แต่โรงเรียนใช้เงินไปทั้งสิ้น  61,000  บาท  โดยยอดเงินที่จ่ายเกินคณะครูอาจารย์ได้ร่วมบริจาค
          ปี  พ.ศ.  2542  จัดสร้างอาคารเรียนชั้นอนุบาล  แบบ ป.1ก.  จำนวน  1  ห้องเรียน  เป็นเงินประมาณ  100,000  บาท  ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากคณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน  โดยมีผู้ปกครองนักเรียนช่วยเหลือด้านการแรงงานก่อสร้าง
          ปี  พ.ศ.  2543  ได้รับอนุญาตให้เปิดขยายชั้นอนุบาล  1
          ปี  พ.ศ.  2544  ได้จัดสร้างสนามเด็กเล่น  โดยใช้เงินงบประมาณตามข้อเสนอของ  สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  จังหวัดนครศรีธรรมราช ( นายชนะ  วงศ์มุสิก ) และจากการประสานงานของ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเภา ( นายสนธยา  อาจหาญ )  เป็นเงิน  90,000  บาท
          ปี  พ.ศ.  2545  จัดงานวันสถาปนา เพื่อหาทุนสร้างห้องสมุดหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งใช้มานานจนเกิดการชำรุด  ประกอบกับเกิดปัญหาน้ำท่วมทุกปี  ยากต่อการดูแลหนังสือตลอดจนวัสดุอุปกรณ์  และในปีนี้ได้รื้อถอนอาคารห้องสมุดหลังเก่าพร้อมทั้งก่อสร้างหลังใหม่  เป็นอาคารคอนกรีตยกพื้นสูง 1.50 เมตรใต้ถุนโล่ง
          ปี พ.ศ. 2546  จัดงานทอดผ้าป่าโดยคณะกรรมการศิษย์เก่าเพื่อหาทุนสร้างห้องสมุด                    ได้เงิน  400,000  บาทและดำเนินการสร้างห้องสมุดต่อแล้วเสร็จ  และเปิดใช้เมื่อวันที่  17  มิถุนายน  2547
          ปี พ.ศ. 2549  ได้รับความร่วมมือจากชุมชน  ในการทำถนนคอนกรีตภายในโรงเรียน ขนาดกว้าง      4 เมตรยาว 200 เมตร  โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการเลย
          ปี พ.ศ. 2551   โรงเรียนปรับปรุงแฟ้มเก็บข้อมูลสารสนเทศให้เป็นระบบค้นหาได้ง่าย   ได้รื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่า และของบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แบบ สปช. 105/29  (ปรับปรุง 2 ชั้น     5  ห้องเรียน  ใต้ถุนโล่ง) งบประมาณ  3,078,000  บาท  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ฯพณฯ ชินวรณ์   บุญยเกียรติ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและได้จัดทอดผ้าเพื่อการศึกษาขึ้น เมื่อวันที่         17  มิถุนายน  2554  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรรมการสถานศึกษา  ผู้ปกครองและศิษย์เก่าเป็นอย่างดี     ได้เงินทั้งหมด 540,758  บาท  และ17  มิถุนายน  2554  คุณวิโชค  อาจหาญและพ่อแม่พี่ๆน้องๆ       ร่วมบริจาค  150,000   บาท เพื่อจัดทำป้ายชื่อโรงเรียนบ้านทุ่งครั้งใหม่พร้อมกำแพงด้านหน้าโรงเรียน
           วันที่  9  กรกฎาคม  2554  พระอธิการอภิชิต   พุทธสโร  เจ้าอาวาสวัดเจดีย์เห็นว่าอาคารเรียนหลังใหม่มี  5  ห้องเรียน มีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จึงอนุเคราะห์ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างให้ โดยใช้งบประมาณ  250,000  บาท   เป็นค่าวัสดุ  สำหรับค่าแรง คณะกรรมการ  ผู้ปกครอง และชุมชนช่วยกันต่อเติมซึ่งมีนายปรีชา   เพชรนุ้ย  ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้นำ
ปี พ.ศ.2559  ได้รับงบประมาณจัดสรร  งบที่ดินสิ่งก่อสร้าง  ส้วมนักเรียนชาย 4 ที่นั่ง 4/49  จำนวน 190,600 บาท
           ปีการศึกษา 2560 ขยายห้องเรียนสำหรับนักเรียนอนุบาล 3 ขวบ
           ปีการศึกษา 2566 ได้รับจัดสรรงบประมาณจัดสร้างอาคารอนุบาล 2 ชั้น 2 ห้องเรียน
           ปัจจุบันปีการศึกษา 2567 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6        จำนวน 9 ห้องเรียน มีนักเรียน 160 คน  มีข้าราชการครู  12  คน ครูอัตราจ้าง  3  คน ลูกจ้างประจำ 1 คน  ธุรการโรงเรียน  1 คน  ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการเรียนรวม 1 คน ผู้บริหาร 1 คน คือนายวิทยา  นุ่นจุ้ย  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งครั้ง